วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

หญ้าคาสุดยอดวัชพืชไม่ไร้ค่า

สวัสดีเพื่อนๆ  สมุนไพรไกลโรค  ช่วงนี้ฝนตกค่อนข้างบ่อย ถึงแม้จะไปไหนมาไหนลำบาก แต่ก็มีข้อดีคือช่วยลดอุณภูมิภายนอกให้เย็นสดชื่นได้ พืชพันธ์ต่างๆ ก็พากันเขียวชอุ่ม โดยเฉพาะพวกวัชพืชต่างๆก็ได้อานิสงค์ไปกับเขาfด้วยเช่นพวกหญ้าคา  ซึ่งทำให้อาจต้องเปลืองแรงถอนกันอีก แต่หลายๆท่านเองอาจคิดว่าหญ้าคา เป็นเพียงวัชพื้ชที่ไร้คุณค่า  โดยมีคนเคยให้ข้อมูลว่า หญ้าคาติดอันดับ1 ใน 10 ของวัชพืชที่แย่ที่สุดของโลกเลยทีเดียว  อะไรจะขนาดนั้น     แต่ความเป็นจริงแล้ว หญ้าคานั้นถือเป็นสมุนไพรไทย ที่ทรงคุณค่ามากมายทีเดียว  มารู้จักหญ้าคากันค่ะ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา      Imperata cylindrica (L.) P.Beauv
  • ชื่อวงศ์                                        Poaceae หรือ Gramineae
  • ชืออื่นๆตามภูมิภาค                     คาหลวง , คา (ภาคกลาง) ลาแล , ลาลาง มลายู และ เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หญ้าคา
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของหญ้าคา
มีเหง้าสีขาวแข็งอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงถึง15 – 20 เซนติเมตร มีกาบใบโอบหุ้มอยู่และริมกาบใบจะมีขน ตัวใบจะเรียวยาวประมาณ 1 – 2 เมตร กว้างประมาณ 4 – 18 มิลลิเมตร มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง เป็นช่อยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากการศึกษาทางวิสยาศาสตร์
เนื่องจากหญ้าคามีสารสำคัญอยู่หลายประการโดยเฉพาะในราก มีสารประกอบฟินอลิก (phenolic compounds),โครโมน (chrmones), ไตรเตอร์ปินอยด์ (triterpenoid), เซสควิทเตอร์ปินอยด์ (sesquiterpenoids), โพลีแซคคาไรด์โดยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติสำคัญดังนี้
  1. ต้านอักเสบ  สารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า ไซลินดอลเอ (cylindol A) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส                        (5-lipoxygenase) ซึ่งจะลดการสลายกรดไขมันอะแรกชิโดนิก (arachidonic acid) ที่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารก่ออักเสบ
  2. ต้านเลือดเหนียว  สารประกอบฟินอลิกที่มืชื่อว่า อิมพีรานีน (imperanene) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
  3. ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตสารประกอบฟินอลิกในกลุ่มลิกแนนที่มีชื่อว่า (graminone B) และเซสควิทเตอร์ปินอยด์ที่ชื่อว่าไซลินดรีน (cylindrene)  ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด (vasodilative activity) โดยพบว่าสามารถยับยั้งการหดรั้งของหลอดเลือดแดงในกระต่าย  ซึ่งคุณสมบัตินี้มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต ดั่งเช่นที่พบว่าสารสกัดจากหญ้าคาสามารถลดความดันโลหิตในหนูทดลองได้
  4. ปกป้องเซลล์สมองสารโครโมนที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากสารเคมีที่เป็นพิษ
  5.  เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันโพลีแซคคาไรด์ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  6.  ต้านจุลชีพ  มีการศึกษาสารสกัดจากใบและรากของหญ้าคาพบว่าสารที่สกัดได้ทั้งจากใบ และรากของหญ้าคามีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคได้ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย B. subtilisP aeruginosaE. coliS. aureusและ ยีสต์ C. albicans(11)
ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณ
  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทยคือ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้น้ำดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  โดยใช้ 1 กำมือ (สด 40-50 กรัม หรือ แห้ง10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง  ก่อนอาหารครั้งละ 1ถ้วยชา(75 มล.)
  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีนคือ รสอมหวานเย็น มีฤทธิ์ห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ใช้รักษาอาการเลือดออกจากภาวะเลือดร้อน เช่น เลือดกำเดา   ไอ อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด และมีฤทธิ์ระบายความร้อน และขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะร้อนมีสีเข้ม  ใช้ 9-30 กรัม             ต้มเอาน้ำดื่ม

สมุนไพรใกล้ตัว

 นอกจากเมนูอาหารสุดเดิ้นที่สุดแสนจะเอร็ดอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่นำมาเสนอแล้ว
วันนี้ยังมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยมาบอกเล่าเก้าสิบกันด้วย เพราะเดี๋ยวนี้สมุนไพรไทย ดังไกลไปทั่วโลกแล้ว เช่น ฟ้าทลายโจร ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด นอกจากนี้ สมุนไพรบางชนิดยังนำมาปรุงเป็นอาหารร่วมกับ “ปลาช่อนทะเล” ของเราได้ด้วย ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลง เราไปดูดีกว่าว่าสมุนไพรไทยมีดีอะไรบ้าง..!!

          หอมแดงสามารถต้านเชื้อหวัดได้เหมือนกัน นิยมใช้มาแต่ดึกดำบรรพ์ เช่นเด็กเป็นหวัดหรือมีอาการคัดจมูกคล้ายจะเป็นหวัด โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว นิยมเรียกว่า "ไข้หัวลม" เอา "หอมแดง" กะจำนวนพอประมาณ ทุบพอแตกต้มกับน้ำจนเดือดลาดศีรษะเด็กขณะอุ่นหลังอาบน้เสร็จ ประมาณ 2 -3ขันเศษ"หอมแดง" ที่ต้มขยี้ศีรษะเช็ดผมให้สะอาด อาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดหัวลมจะหายได้นิยมทำตอนเย็นหรือ หากผู้ใหญ่เป็นไข้หัวลมหรือ เป็นหวัดเอา"หอมแดง" กะจำนวนตามต้องการทุบพอแตกต้มน้ำเดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะรมสูดเอาไอร้อนจากน้ำที่ต้ม หายใจลึกๆ ทำวันละครั้งก่อนนอน อาการที่เป็นจะหายได้ ซึ่งสูตรดังกล่าวสามารถใช้ป้องกันเชื้อหวัดทุกชนิดได้ คนที่ยังไม่เป็นหวัดก็ทำได้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหวัดได้ดีมาก
        หอมหัวใหญ่    (Allium cepa)   เป็นพืชในตระกูลเดียวกับกระเทียมอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียม    แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน  ซีลีเนียม  บีตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ลดอาการกระตุกของกล้มเนื้อ มีฤทธิ์มากในการขับสารพิษทั้งที่เป็นโลหะหนักและพยาธิ     เควอเซทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากและ ยังสามารถลด
โคเลสเตอรอลและความดันเลือดสูงได้อีกด้วย
      พริกชี้ฟ้าแดง เป็นสมุนไพรที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ มีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม
( Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค
              ใบมะกรูด เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาปรุงอาหาร วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน... ประโยชน์ของใบมะกรูดมีหลายอย่าง เช่น ขับลม ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แต่บางคนคิดว่าเอามาทานได้อย่างเดียว ทั้ง ๆ ที่บางคนก็เอามาทำเป็นสมุนไพรแบบ "สปา" ซึ่งถ้ารู้สึกเครียด ๆ ก็เอาใบมะกรูดมาฉีก ๆ แล้วดมก็ทำให้ผ่อนคลายได้เหมือนกัน เพราะในใบมะกรูดจะมีสารบางตัวทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ดีคนที่อยู่ต่างแดน ช่วงนี้อากาศเย็นมาก ๆออกไปข้างนอกกลับมาเย็นมือเย็นเท้า แถมเกร็ง ๆ ไปทั้งตัวก็ใช้ ใบมะกรูด ได้เหมือนกัน
          วิธีทำ คือ นำน้ำอุ่นใส่ภาชนะฉีกใบมะกรูดลงในน้ำอุ่นแช่เท้าหรือมือไว้สักพัก กลิ่นใบมะกรูดทำให้รู้สึกผ่อนคลาย บวกกับน้ำอุ่น ก็จะทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นสบายตัวดีด้วย

  
           พริกไทยมีสรรพคุณใช้รักษาโรคหลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง และมีอาการหอบหืด ,รักษาประสาทอ่อนเพลีย,รักษาโรคผิวหนัง ,รักษาเด็กที่ท้องเสียจากระบบการย่อยอาหารไม่ดี

          สะระแหนสามารถแก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ โดยการนำน้ำที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม หรือจะรับประทานสดๆ เพื่อดับกลิ่นปากและ ช่วยลดอาการจุกเสียดท้องในเด็กได้ โดยนำใบสะระแหน่ 2-3 ใบ มาบดให้ละเอียด ผสมกับยาหอม แล้วนำมากวาดคอเด็ก อาการเสียดท้องจะทุเลาลง เพราะน้ำมันหอมระเหย ของสะระแหน่ ยังเป็นยาที่ช่วยยับยั้งเชื้อโรค และลดอาการเกร็งของลำไส้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกันไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรงในใบ สะระแหน่มี เบต้า-แคโรทีน มากถึง 538.35RE แคลเซียม 40 กรัม วิตามินซีถึง 88 มิลลิกรัม เมื่อทาน 100 กรัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น